วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556

การเปรียบเทียบเพลง ระหว่าง อดีตและปัจจุบัน




การเปรียบเทียบเพลง  ระหว่าง อดีตและปัจจุบัน

1.  ความหมาย
เพลงในอดีต  จะมีความหมายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างชัดเจน
เพลงในปัจจุบัน  ไม่ค่อยให้ความหมายชัดเจน

2.  ทำนอง
เพลงในอดีต  จะมีทำนองช้าๆ ฟังสบาย
เพลงในปัจจุบัน  จะมีทำนองรั่วๆ  เร็วๆ ให้ความตื่นเต้น

3.  แนวเพลง
เพลงในอดีต  ส่วนมากจะเป็นแนวลูกกรุง  ไทยเดิม
เพลงในปัจจุบัน  มีหลายแนวเพลง เช่น อินดี้  ร๊อค  อาร์แอนด์บี  ป๊อบ

ฯลฯ

ไม่ว่าจะเพลงในสมัยไหน  ก็ได้รับความนิยมต่างๆกันไป  ไม่สามารถบ่อได้ว่าเพลงในอดีตหรือเพลงในปัจจุบัน ช่วงไหนที่ดีกว่ากัน  บอกได้แต่ว่า  เพลงแต่ละยุคก็มีดีของยุคนั้นๆ

วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

22. ภาคผนวก (Appendix)



   พรศรี ศรีอัษฎาพร  (2529 : 161)  กล่าวว่า  ภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือตารางบางตาราง

http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18  กล่าวว่า สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวว่า สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่


สรุป
ภาคผนวกอาจมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้ามีสิ่งใดที่มีความสำคัญ และไม่ต้องการให้สื่อความหมายหรือความเข้าใจไปพร้อมกับการอ่านรายงาน ให้นำไปใส่ไว้ในภาคผนวก  สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่


อ้างอิง
พรศรี ศรีอัษฎาพร.(2529). สถิติและการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สามเจริญพานิช.
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 22/12/12
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 22/12/12




วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

21. เอกสารอ้างอิง (References)



วัลลภ ลำพาย (2547 : 178) กล่าวว่า ส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวว่า  เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography)  ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18 กล่าวว่า ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)  การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style" ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


สรุป
วิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่องจะต้องมีเอกสารอ้างอิงหรือรายการอ้างอิงส่วนนี้เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ  อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)  การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style" ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al


อ้างอิง

วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัยเกษตรศาสตร์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)   [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อ 16/12/12
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18   [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อ 16/12/12



20. งบประมาณ (Budget)



สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์  (2539 : 201 249)  กล่าวว่า  งบประมาณ หมายถึงแผนการดำเนินงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรขององค์การใดองค์การหนึ่ง สำหรับระยะเวลาใดระยะเวลาหนึ่งในภายหน้า ซึ่งแผนการดำเนินงานนี้อาจจะมีลักษณะเป็นแผนระยะยาว เช่น งบประมาณที่มีระยะเวลา 3 ปี  5 ปี  หรือ 10  ปี  หรืออาจจะเป็นแผนระยะสั้น  เช่น  งบประมาณรายเดือน 3 เดือน  6  เดือน  หรือ 1 ปี 

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวว่า งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
                1 . เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
    2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
                3 . ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
                4 .ค่าครุภัณฑ์
                5 . ค่าประมวลผลข้อมูล
                6 . ค่าพิมพ์รายงาน
                7 .ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
โครงการแล้ว
                8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
                อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18 กล่าวว่า การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิลม์ อ๊อกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป
การคิดงบประมาณ ต้องพิจารณาเงื่อนไข ของแต่ละแหล่งทุน ว่ามีระเบียบ ในเรื่องนี้ อย่างไรบ้าง เพราะแหล่งทุน แต่ละแห่ง มักจะมีระเบียบต่าง ๆ กัน


สรุป
งบประมาณ (budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรแบ่งเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่
1 . เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
2 .ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม
3 . ค่าใช้จ่ายสำนักงาน
4 .ค่าครุภัณฑ์
5 . ค่าประมวลผลข้อมูล
6 . ค่าพิมพ์รายงาน
7 .ค่าจัดประชุมวิชาการ เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบ
โครงการแล้ว
8. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ
การคิดงบประมาณ ควรยึดแผนการดำเนินงาน และตารางปฏิบัติงาน เป็นหลัก โดยวิเคราะห์ ในแต่ละกิจกรรมย่อย ว่าต้องการทรัพยากร อะไรบ้าง จำนวนเท่าใด ต้องการตอนไหน ซึ่งตามปกติแล้ว ควรแจกแจง ในรายละเอียด อย่างสมเหตุสมผล กับเรื่องที่จะ ทำวิจัย และควร แยกออกเป็น หมวด ๆ
ก. หมวดบุคลากร โดยระบุว่า ต้องการบุคลากร ประเภทไหน มีคุณวุฒิ หรือความสามารถ อะไร จำนวนเท่าไร จะจ้าง ในอัตราเท่าไร เป็นระยะเวลาเท่าไร
ข. หมวดค่าใช้สอย เป็นรายจ่าย เพื่อให้ได้มา ซึ่งบริการใด ๆ เช่น ค่าสื่อสาร ค่าธรรมเนียม ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น เป็นต้น
ค. หมวดค่าวัสดุ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพ ย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัว ในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของ ที่ซื้อมา เพื่อการบำรุงรักษา หรือซ่อมแซม ทรัพย์สิน เช่น ค่าสารเคมี ค่าเครื่องเขียน และแบบพิมพ์ ค่าเครื่องแก้ว และอุปกรณ์ไม่ถาวร ฟิล์ม ออกซิเจน เป็นต้น
ง. หมวดค่าครุภัณฑ์ คือ รายจ่าย เพื่อซื้อของ ซึ่งตามปกติ มีลักษณะ คงทนถาวร มีอายุการใช้ยืนนาน โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว มีบางแหล่งทุน ไม่อนุญาต ให้ใช้หมวดนี้ นอกจาก มีความจำเป็นจริง ๆ ซึ่งต้องเสนอ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป

  
อ้างอิง
สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2539). การบัญชีต้นทุนแนวคิดและการประยุกต์เพื่อการตัดสินใจเชิงการบริหาร. กรุงเทพ : หจก. สยามเตชั่นเนอรี่ ซัพพลายส์.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 16/12/12
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 16/12/12





วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

19. การบริหารงานวิจัยและตารางการปฏิบัติงาน(Administration & Time Schedule)



พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว (2545 : 728) การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง

เสนาะ ติเยาว์ (2544 : 1) ได้ให้ความหมายของการบริหารงานวิจัย คือ กระบวนการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งแยกตามสาระของความหมายนี้ได้ 5 ลักษณะ คือ
1. การบริหารเป็นการทำงานกับคนและโดยอาศัยคน
2. การบริหารทำให้งานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
3. การบริหารเป็นความสมดุลระหว่างประสิทธิผลและประสิทธิภาพ
4. การบริหารเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและการบริหารจะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
5. การบริหารที่จะประสบผลสำเร็จจะต้องสามารถคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18  กล่าวว่า  การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)  ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                   - ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)
                   - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ                  
                   - ติดต่อผู้นำชุมชน                  
                   - การเตรียมชุมชน                  
                   - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย                  
                   - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ                  
                   - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย                  
                   - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ                 
                   - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ
                   - ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
                   - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล                  
                   - ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล


สรุป
การบริหารจัดการเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานการวิจัยให้ประสบความสำเร็จ ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวก คือ โครงการพื้นฐานต้องพอเพียงซึ่งหมายถึงงบประมาณการวิจัย นักวิจัยหน่วยงานเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้ระบบการวิจัยดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพ หากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง
การบริหารงานวิจัย คือ กิจกรรมที่ทำให้งานวิจัยนั้น สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีการวางแผน (planning) ดำเนินงานตามแผน (implementation) และประเมินผล (evaluation)  ในการเขียนโครงร่างการวิจัย ควรมีผลการดำเนินงาน ตั้งแต่เริ่มแรก จนเสร็จสิ้นโครงการ เป็นขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดวัตถุประสงค์
2. กำหนดกิจกรรม (activities) ต่าง ๆ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เช่น
                           - ขั้นเตรียมการ (Preparatory Phase)           
                           - ติดต่อเพื่อขออนุมัติดำเนินการ         
                           - ติดต่อผู้นำชุมชน                                       
                           - การเตรียมชุมชน                               
                           - การคัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย                          
                           - การอบรมผู้ช่วยนักวิจัย
                           - การเตรียมเครื่องมือที่จะใช้ในการสำรวจ     

                           - การทดสอบเครื่องมือในการสำรวจ
                           - การแก้ไขเครื่องมือในการสำรวจ                 

                           - ขั้นปฏิบัติงาน (Implementation Phase)
                           - ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล                               
                           - ขั้นการเขียนรายงาน
3. ทรัพยากร (resources) ที่ต้องการ ของแต่ละกิจกรรม รวมทั้งเวลาที่ใช้ ในแต่ละขั้นตอน ทรัพยากรเหล่านั้น ที่มีอยู่แล้ว มีอะไรบ้าง และมีอะไร ที่ต้องการเสนอขอ จำนวนเท่าใด
4. การดำเนินงาน (Implementation) ต้องตัดสินใจ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การจัดสรรงบประมาณ และการรวบรวมข้อมูล


อ้างอิง
เสนาะ ติเยาว์.(2544).หลักการบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว.(2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพมหานคร : สมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย,(พิมพ์ครั้งที่ 5).
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18 [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 15/12/12