วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย่ (Gagne's eclecticism)


 ทิศนา  แขมมณี (2550) กล่าวว่า  Gagne and Briggs (1974:121-136) ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้
1.การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้
2.การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณเพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
3.การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกัน ตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
4.การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา
5.การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
7.การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปและตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน

            บริหารการศึกษา  กลุ่มดอนทอง 52   (http://dontong52.blogspot.com/)  กล่าวว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne)
1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท
- การเรียนรู้สัญญาณ
- การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง
- การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง
- การเชื่อมโยงทางภาษา
- การเรียนรู้ความแตกต่าง
- การเรียนรู้ความคิดรวบยอม
- การเรียนรู้กฎ
- การเรียนรู้การแก้ปัญหา
2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
- สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
- ทักษะเชาว์ปัญญา
- ยุทธศาสตร์ในการคิด
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- เจตคติ


        แม่นำ (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321)   กล่าวว่า  แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  
การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้  
ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 
ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)



สรุป
 ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมดได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ
- สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง
- ทักษะเชาว์ปัญญา
- ยุทธศาสตร์ในการคิด
- ทักษะการเคลื่อนไหว
- เจตคติ
ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภทดังนี้
1.การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้
2.การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณเพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้
3.การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกัน ตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
4.การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา
5.การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน
7.การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปและตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น
8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน





 อ้างอิง


ทิศนา แขมมณี.(2550). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ  
บริหารการศึกษา  กลุ่มดอนทอง 52  [ออนไลน์] : http://dontong52.blogspot.com/ เข้าถึงเมื่อ 13/07/2555
แม่นำ [ออนไลน์] : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321  เข้าถึงเมื่อ 13/07/2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น