วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.3.1 ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวณข้อมูล (Infotmation Processing)


          ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนรู้การสอนภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2   (http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97)  กล่าวว่า  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็น ทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้ เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

           บริหารการศึกษา  กลุ่มดอนทอง 52  (dontong52.blogspot.com)  กล่าวว่า  ทฤษฎี กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน
คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์ กับการทำงานของสมอง  การรู้คิด หรือ เมอทคอคนิชัน (matacognition) ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล งาน และกลวิธี

           ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ  (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) กล่าวว่า  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็น ทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  



สรุป

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) เป็น ทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้ เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด



อ้างอิง

ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนรู้การสอนภาษาอังกฤษ สพป.อุตรดิตถ์ เขต 2  [ออนไลน์]  : http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97  เข้าถึงเมื่อ 18/07/2555
บริหารการศึกษา  กลุ่มดอนทอง 52  [ออนไลน์] : dontong52.blogspot.com/  เข้าถึงเมื่อ 18/07/2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์] : http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486  เข้าถึงเมื่อ 18/07/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น