วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

2. ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)



http://tourismlogistics.com/index.php?option=com_content&view=article&id=483:research-tips-37&catid=73:research-secrets&Itemid=89 กล่าวว่า หัวใจของการเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา มีดังนี้
  1.   ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าเรื่องที่เราจะทำวิจัยมีความสำคัญจริง 
 โดยประเมินจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของสิ่งที่ทำ  จำนวนผู้คนที่จะได้รับประโยชน์จากผลการวิจัย  ผลประโยชน์จะตกไปถึงผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
 2. ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าแรงจูงใจในการทำวิจัยเรื่องนี้คืออะไร
 โดยประเมินจากการเป็นช่องว่างทางวิชาการที่ยังไม่มีคำตอบ ยังไม่มีการศึกษาในเรื่องนี้
และต้องการได้คำตอบ  (เนื่องจากมีความสำคัญ ตามข้อ 1.)
 3. หากทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าเราคือคนที่ใช่ สำหรับการทำวิจัยเรื่องนี้ ยิ่งจะดีมาก
 โดยประเมินจากความเชี่ยวชาญ  ผลงานที่ผ่านมา  ความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์
ความได้เปรียบเรื่องข้อมูล
            อะไรที่เขียนแล้วยืดเยื้อและไม่สามารถ นำไปสู่เป้าหมายสามอย่างนี้   ไม่ควรเขียนไว้ในส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหา เพราะจะทำให้ผู้อ่านไขว้ เขวทั้งในประเด็นปัญหา และความเป็นมืออาชีพของผู้วิจัย
 
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm  กล่าวว่า  ปัญหาการวิจัย   คือ ประเด็นที่นักวิจัยสงสัยและต้องการดำเนินการเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้อง ตรงกับความเป็นจริง ทำให้มีลักษณะข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ทั้งที่เป็นความแตกต่างและไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และที่สำคัญปัญหานั้นไม่สามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก  
จากความหมายของปัญหาการวิจัยดังกล่าวมีความแตกต่างจากปัญหาทั่วไป คือปัญหาทั่วไป หมายถึง สภาพที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง แต่ปัญหาการวิจัยอาจเป็นเรื่องที่ใช่ความแตกต่างหรือไม่แตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวังก็ได้ และต้องไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยสามัญสำนึก ถ้าปัญหาใดที่สามารถแก้ไขได้ด้วยสามัญสำนึกก็ไม่จำเป็นต้องทำการวิจัย
ดังนั้น การกำหนดปัญหาการวิจัย   จึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักสำหรับนักวิจัยที่จะกำหนดปัญหาการวิจัยที่ง่าย ชัดเจน และครบถ้วนสมบูรณ์ นักวิจัยส่วนมากอาจมีแนวความคิดที่สลับซับซ้อน บางคนอาจใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างแนวคิด และวิเคราะห์ ก่อนที่จะสามารถตัดสินใจได้ว่า ปัญหาการวิจัยที่เขาต้องการจะหาคำตอบที่แท้จริงคืออะไร 
เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างปัญหาการวิจัยและปัญหาทั่วไปยกตัวอย่างปัญหาที่น่าสนใจ
1. ผู้เรียนที่ไม่ตอบข้อสอบอัตนัยมีพฤติกรรมอย่างไร
2. นักวิจัยที่มีจรรยาบรรณวัดจากตัวบ่งชี้ใดได้บ้าง
3. เพราะเหตุใดที่ทำให้การจราจรในกรุงเทพมหานครติดขัด
จากปัญหาเบื้องต้นท่านคิดว่าปัญหาข้อใดเป็นปัญหาการวิจัย การที่จะตอบคำถามได้ต้องมีความเข้าใจความแตกต่างของปัญหาการวิจัยกับปัญหาทั่วไปก่อน ดังที่กล่าวไป
ปัญหาข้อ1 ผู้เรียนที่ไม่ตอบข้อสอบอัตนัยทุกข้อเลยเป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมอย่างไร เป็นข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และไม่สามารถคิดคำตอบโดยใช้สามัญสำนึก (สิ่งที่คาดหวัง คือผู้เรียนทุกคนควรตอบข้อสอบอัตนัยเพื่อให้สามารถวัดความคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้) จึงเป็นปัญหาการวิจัย
ปัญหาข้อ 2 นักวิจัยทีมีจรรยาบรรณวัดจากตัวบ่งชี้ใดได้บ้าง เป็นข้อสงสัยของผู้วิจัยต่อสถานการณ์ที่ไม่ได้เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่ง ที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง แต่ไม่สามารถคิดคำตอบโดยใช้สามัญสำนึก จึงเป็นปัญหาการวิจัย
ปัญหาข้อ 3 เพราะเหตุใดที่ทำให้การจราจรในกรุงเทพมหานครติดขัด เป็นปัญหาที่มีต่อสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นจริงกับสิ่งที่คาดหวัง และสามารถหาคำตอบด้วยสามัญสำนึก จึงไม่เป็นปัญหาการวิจัย 
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงลักษณะปัญหาที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกตัวปัญหามาทำวิจัย ลักษณะของปัญหาที่ดีนั้นมีดังนี้
            1. เป็นปัญหาที่สำคัญ มีประโยชน์ ทำให้เกิดความรู้ใหม่หรือใช้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้
2. เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยวิธีการวิจัย
3. เป็นปัญหาที่สามารถหาข้อมูลมาตรวจสอบสมมุติฐาน เพื่อหาข้อสรุป
4. เป็นปัญหาที่สามารถให้ค่านิยามปัญหาได้
5. เป็นปัญหาที่สามารถวางแผนการดำเนินงานตามขั้นตอนไว้ล่วงหน้าได้
6. เป็นปัญหาที่สามารถใช้วิชาการ และขั้นตอน หรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลได้
ดังนั้น   จะเห็นว่าการกำหนดปัญหาการวิจัยมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากจะช่วยให้เรื่องที่จะทำการวิจัยแคบลง มีเป้าหมายแน่นอนแล้ว ยังช่วยชี้แนะแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์และสมมติฐาน การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปผลวิจัยอีกด้วย  อีกนัยหนึ่ง ปัญหาการวิจัยเป็นเครื่องบ่งชี้แนวทางการวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  หากกำหนดปัญหาการวิจัยถูกต้องชัดเจน การวิจัยย่อมจะประสบผลสำเร็จในการแก้ไขปัญหา แต่หากปัญหาการวิจัยผิดพลาด การวิจัยยอมจะล้มเหลวตามไปด้วย

 http://www.watpon.com/Elearning/res17.htm กล่าวว่า การเลือกปัญหาในการวิจัยนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยต้อง ตัดสินใจและประเมินผลในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้การวิจัยนั้นสำเร็จได้ด้วยดี หากเลือกปัญหาโดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว อาจทำให้ต้องเลิกล้มหรือเปลี่ยนหัวข้อปัญหาใหม่ได้ อันจะทำให้เสียเวลา แรงงาน หรือเงินลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ และยังบั่นทอนกำลังใจของผู้วิจัยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้การเลือกปัญหาในการวิจัยจึงควรพิจารณาให้รอบคอบ และต้องแน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ จึงขอเสนอแนะแนวทางในการเลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. ควรเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุด โดยมีความสนใจในลักษณะต่อไปนี้คือ
1.1 มีความอยากรู้อยากเห็นในเชิงวิชาการ
1.2 มีศรัทธาแรงกล้าที่จะแสวงหาคำตอบในปัญหานั้น โดยปราศจากแรงจูงใจ ภายนอก เช่น การได้วุฒิบัตร การได้เกรด เป็นต้น แต่เป็นความสนใจภายในที่เกิดขึ้นจากความสนใจของผู้ทำวิจัยเอง
2. ควรคำนึงถึงคุณค่าของผลงานวิจัย ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
2.1 ในด้านก่อให้เกิดความรู้ใหม่ อาจเป็นในลักษณะสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือสร้างทฤษฎีหรือหลักการขึ้นมาใหม่
2.2 ในด้านก่อให้เกิดสติปัญญา คือผลการวิจัยจะช่วยให้บุคคลมีความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และสามารถสนองความต้องการของบุคคลและสังคมได้
2.3 ในด้านการนำความรู้ไปใช้ กล่าวคือผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตหรือระบบงานให้ดี ขึ้น โดยใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการปรับปรุง
3. ควรคำนึงถึงความสามารถในการวิจัย หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการทำวิจัยในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
3.1 มีความรู้ความสามารถเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการวิจัยในปัญหานั้น
3.2 สามารถใช้เวลาและมีเงินเพียงพอที่จะทำการวิจัยในปัญหานั้น
3.3 ผู้วิจัยสามารถหาข้อมูลในปัญหานั้น ๆ ได้ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ
4. ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการวิจัย ได้แก่ สิ่งต่อไปนี้คือ
4.1 มีแหล่งวิชาการที่จะสามารถติดต่อหรือค้นคว้าหาความรู้ในปัญหาที่จะวิจัย
4.2 มีอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
4.3 การได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย เช่น กลุ่มตัวอย่าง ผู้สร้างเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องในการได้มาซึ่งข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
5. ลักษณะของหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ควรจะมีลักษณะดังนี้
5.1 ปัญหาที่จะทำการวิจัยไม่ควรกว้างหรือใหญ่โตครอบจักรวาลเกินไป ควรให้พอเหมาะกับเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายที่ตนมีอยู่
5.2 ปัญหาที่จะวิจัยสามารถแก้ได้ด้วยวิธีการวิจัย และหาข้อมูลได้เพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบปัญหานั้น
5.3 ปัญหาที่จะวิจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการนำไปใช้และการเสริมสร้างความรู้ ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ไร้สาระ
5.4 ปัญหาที่จะวิจัยไม่ควรเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น ยกเว้นในกรณีที่ต้องการค้นคว้าวิจัยเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเรื่องนั้น หรือต้องการค้นคว้าวิจัยต่อในเรื่องเดิม
5.5 หลีกเลี่ยงปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงและยังหาข้อยุติไม่ได้ ปัญหาเช่นนี้ไม่ควรนำมาเป็นหัวข้อปัญหาการวิจัย เช่น การถกเถียงทางปรัชญา หรือความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าถูกหรือผิด
5.6 ปัญหาที่จะวิจัยต้องสามารถสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้
5.7 ควรเลือกปัญหาวิจัยที่จะชี้ช่องทางให้ผู้อื่นทำวิจัยต่อไปได้ โดยขยายหรือแตกแขนงปัญหาออกไป อันจะทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น



สรุป

การเลือกปัญหาในการวิจัยนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่นักวิจัยต้อง ตัดสินใจและประเมินผลในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้การวิจัยนั้นสำเร็จได้ด้วยดี หากเลือกปัญหาโดยไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว อาจทำให้ต้องเลิกล้มหรือเปลี่ยนหัวข้อปัญหาใหม่ได้ อันจะทำให้เสียเวลา แรงงาน หรือเงินลงทุนโดยเปล่าประโยชน์ และยังบั่นทอนกำลังใจของผู้วิจัยอีกด้วย ด้วยเหตุนี้การเลือกปัญหาในการวิจัยจึงควรพิจารณาให้รอบคอบ และต้องแน่ใจว่าจะทำได้สำเร็จ จึงขอเสนอแนะแนวทางในการเลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. ควรเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจมากที่สุด โดยมีความสนใจในลักษณะต่อไปนี้คือ
1.1 มีความอยากรู้อยากเห็นในเชิงวิชาการ
1.2 มีศรัทธาแรงกล้าที่จะแสวงหาคำตอบในปัญหานั้น โดยปราศจากแรงจูงใจ ภายนอก เช่น การได้วุฒิบัตร การได้เกรด เป็นต้น แต่เป็นความสนใจภายในที่เกิดขึ้นจากความสนใจของผู้ทำวิจัยเอง
2. ควรคำนึงถึงคุณค่าของผลงานวิจัย ว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์หรือมีคุณค่ามากน้อยเพียงใดในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
2.1 ในด้านก่อให้เกิดความรู้ใหม่ อาจเป็นในลักษณะสนับสนุน หรือคัดค้าน หรือสร้างทฤษฎีหรือหลักการขึ้นมาใหม่
2.2 ในด้านก่อให้เกิดสติปัญญา คือผลการวิจัยจะช่วยให้บุคคลมีความรู้ที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น และสามารถสนองความต้องการของบุคคลและสังคมได้
2.3 ในด้านการนำความรู้ไปใช้ กล่าวคือผลที่ได้จากการวิจัยสามารถนำไปใช้ปรับปรุงชีวิตหรือระบบงานให้ดี ขึ้น โดยใช้ผลการวิจัยเป็นแนวทางในการปรับปรุง
3. ควรคำนึงถึงความสามารถในการวิจัย หมายถึง ผู้วิจัยจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการทำวิจัยในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
3.1 มีความรู้ความสามารถเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในทุก ๆ เรื่องที่เกี่ยวกับการวิจัยในปัญหานั้น
3.2 สามารถใช้เวลาและมีเงินเพียงพอที่จะทำการวิจัยในปัญหานั้น
3.3 ผู้วิจัยสามารถหาข้อมูลในปัญหานั้น ๆ ได้ และสามารถวิเคราะห์ได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ
4. ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการวิจัย ได้แก่ สิ่งต่อไปนี้คือ
4.1 มีแหล่งวิชาการที่จะสามารถติดต่อหรือค้นคว้าหาความรู้ในปัญหาที่จะวิจัย
4.2 มีอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยอำนวยความสะดวกในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
4.3 การได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องในการวิจัย เช่น กลุ่มตัวอย่าง ผู้สร้างเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องในการได้มาซึ่งข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
5. ลักษณะของหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย ควรจะมีลักษณะดังนี้
5.1 ปัญหาที่จะทำการวิจัยไม่ควรกว้างหรือใหญ่โตครอบจักรวาลเกินไป ควรให้พอเหมาะกับเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายที่ตนมีอยู่
5.2 ปัญหาที่จะวิจัยสามารถแก้ได้ด้วยวิธีการวิจัย และหาข้อมูลได้เพียงพอที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อตอบปัญหานั้น
5.3 ปัญหาที่จะวิจัยมีความสำคัญและมีประโยชน์ ทั้งในแง่ของการนำไปใช้และการเสริมสร้างความรู้ ไม่ใช่เป็นปัญหาที่ไร้สาระ
5.4 ปัญหาที่จะวิจัยไม่ควรเป็นเรื่องซ้ำซ้อนกับของผู้อื่น ยกเว้นในกรณีที่ต้องการค้นคว้าวิจัยเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของเรื่องนั้น หรือต้องการค้นคว้าวิจัยต่อในเรื่องเดิม
5.5 หลีกเลี่ยงปัญหาที่เป็นข้อถกเถียงและยังหาข้อยุติไม่ได้ ปัญหาเช่นนี้ไม่ควรนำมาเป็นหัวข้อปัญหาการวิจัย เช่น การถกเถียงทางปรัชญา หรือความคิดเห็นต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่าถูกหรือผิด
5.6 ปัญหาที่จะวิจัยต้องสามารถสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้
5.7 ควรเลือกปัญหาวิจัยที่จะชี้ช่องทางให้ผู้อื่นทำวิจัยต่อไปได้ โดยขยายหรือแตกแขนงปัญหาออกไป อันจะทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น



อ้างอิง

http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~jaimorn/re4.htm  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 11/11/2555
http://www.watpon.com/Elearning/res17.htm  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 11/11/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น