วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

3. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ( Review of Related Literatures )


http://sitawan112.blogspot.com/2012/06/blog-post.html   กล่าวว่า   เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

วัลลภ  ลำพาย (2547 :35 ) กล่าวว่า
1. ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เช่น  เรื่องที่จะศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ  การทบทวนวรรณกรรมก็ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะดูว่า กลุ่มตัวอย่างคือใคร  มีวิธีการทำงานอย่างไร  และผลการวิจัยเป็นอย่างไร
2. เอกสารที่เกี่ยวข้องที่จะวิจัย  ในบางครั้งจำเป็นต้องนำมาอ้างอิง  เช่นทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับหัวข้องเรื่องการบริหาร  ก็ต้องนำทฤษฎีด้านการบริหารมาอ้างอิง
3. การทบทวนวรรณกรรม  หลังจากได้อ่านแล้ว  ควรจับประเด็นสำคัญที่จะเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัย  ในบางครั้งผลการวิจัยจำเป็นต้องกล่าวถึงวิธีวิจัย  กลุ่มตัวอย่าง  ปีที่ทำการวิจัย  เนื่องจากสิ่งเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อถือได้ของงานวิจัย
4. การอ้างถึงเอกสารหรือผลงานวิจัย  ควรจัดลำดับหัวข้อตามความสำคัญ  ไม่ใช่จัดตามเรื่องที่ได้ค้นพบก่อนหลัง  การจัดลำดับหัวข้อตามความสำคัญจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  และยังช่วยทำให้เห็นความสำคัญของผลการวิจัย

           มนัส  สุวรรณ ( 2544 : 29-30 ) กล่าวว่า           
           1. ทำให้ผู้วิจัยสามารถเลื อกและกำหนดปัญหาเพื่อการวิจัยได้
2. ทำให้ผู้วิจัยรู้และเข้าใจสถานะภาพปัจจุบันและความก้าวหน้าของสาขาที่ตนเองสนใจทำวิจัย
3. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้วิจัยทราบว่ามีปัญหาที่น่าสนใจอะไรบ้างในสาขาวิชาที่ตนจะทำวิจัยที่มีผู้ทำการศึกษาแล้ว  และปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่มีผู้ทำการศึกษาวิจัย  สามารถจะหลีกเลี่ยงการวิจัยซ้ำซ้อน  และมีความคิดริเริ่มแปลกใหม่ขึ้นมาจากความสำคัญข้อนี้
4.  ผู้วิจัยสามารถทราบปัญหาและข้อบกพร่องต่าง ๆ ในสาขาวิชาที่ตนสนใจและสามารถที่จะนำปัญหาและข้อบกพร่องเหล่านี้มาปรับปรุงหรือพัฒนาเพื่อให้งานวิจัยของตนประสบผลดียิ่งขึ้น
5. ผู้วิจัยจะได้แนวทางต่าง ๆ จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง  เช่น  ทราบแหล่งที่มาและการได้มาซึ่งข้อมูล  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้  การกำหนดรูปแบบการวิเคราะห์  การเลือกและการกำหนดตัวแปร  ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์และการทำรายงานการวิจัย  เป็นต้น
6. ผู้วิจัยสามารถนำผลการวิจัยของตนมาเปรียบเทียบอ้างอิงกับวรรณกรรมที่ทบทวนเพื่อสรุปในรายงานวิจัย  ทั้งนี้ไม่ว่าการเปรียบเทียบผลนั้นจะเป็นการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
7. เพิ่มความน่าเชื่อถือและน้ำหนักเชิงวิชาการให้กับงานวิจัย
แหล่งของวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องคือ 
      1. หนังสือตำรา 
      2. รายงานการวิจัย 
      3. วารสารต่าง ๆ 
      4. เอกสารอื่น ๆ เช่น  เอกสารประกอบการเรียน  หนังสือพิมพ์  เป็นต้น


สรุป
เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม  พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร  ควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรง  เช่น  เรื่องที่จะศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้ผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ  การทบทวนวรรณกรรมก็ควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารงานในด้านต่าง ๆ เพื่อที่จะดูว่า กลุ่มตัวอย่างคือใคร  มีวิธีการทำงานอย่างไร  และผลการวิจัยเป็นอย่างไร  ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น  ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์  ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ


อ้างอิง
http://sitawan112.blogspot.com/2012/06/blog-post.html  [ออนไลน์]  เข้าถึงเมื่อ 11/11/12
วัลลภ  ลำพาย.(2547)เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
มนัส  สุวรรณ.(2544)ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.กรุงเทพ ฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง  เฮ้าส์ .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น