วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2555

12. ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)



รัตนะ บัวสนธ์ (2551:21) กล่าวว่า ระเบียบวิธีวิจัย หมายถึง กระบวนทัศน์ (Paradigm) ทฤษฎี หลักการ และกระบวนการดำเนินงานทุกขั้นตอน จึงครอบคลุมไปถึงวิธีการและเทคนิคของการวิจัยด้วย ซึ่งวิธีการและเทคนิคของการวิจัยเป็นเรื่องของกาทำกิจกรรมขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเท่านั้น

http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวว่า  ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เป็น การให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจะทำ อย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
1.วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
2.แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
3.ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
4.วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
5.วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
6.การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้


http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613 กล่าวว่า  ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
1.ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย (Deductive) ความ รู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
2.ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์  เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษนิยม (Empiricism) ดัง นั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย (Inductive) ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด


สรุป
ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เป็น การให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจะทำ อย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
                1.วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
                2.แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
                3.ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
                4.วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
                5.วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
                6.การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้



อ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551).ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 1/12/12
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 1/12/12






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น