วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

15. ปัญหาทางจริยธรรม (Ethical Considerations)



องอาจ นัยพัฒน์ (2548 : 24) กล่าวว่า 
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย   ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ผศ.ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 28) กล่าวว่า
ปัญหาทางจริยธรรมหรือการผิดจรรยาบรรณ มีการกระทำผิดทั้งผู้ทำวิจัยหรือผู้ขอทุนวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย ซึ่งมีหลายลักษณะดังนี้
1.การตั้งชื่อเรื่อง
- ลอกเลียนแบบชื่อเรื่องงานวิจัยของผู้อื่น
- ตั้งชื่อเรื่องวิจัยให้หน่วยงานโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- ผู้ให้ทุนขาดความสามารถในการตั้งชื่อและประเมินชื่อเรื่องงานวิจัย
2.การขอรับทุนสนับสนุน
- งานวิจัยเรื่องเดียวแต่ขอรับทุนหลานแหล่ง
- เปลี่ยนชื่อบางส่วน เช่น เปลี่ยนชื่อจังหวัดแต่เนื้อในเหมือนกันหมดแล้วแยกกันไปขอทุน
- แอบอ้างชื่อนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ
- การติดสินบนผู้พิจารณา
- ขอทุนแล้วเอาไปจ้างผู้อื่นทำต่อ
- ผู้ให้ทุนให้ทุนโดยเห็นแก่พรรคพวก หรือบอกให้พรรคพวกส่งเรท่องมาแข่งขัน
- ผู้ให้ทุนใช้ความแค้นส่วนตัวแกล้งไม่ให้ผ่านหรือแกล้งวิธีอื่น ๆ เท่าที่จะทำได้
- การตั้งผู้ที่ไม่มีความรู้มาเป็นกรรมการพิจารณาทุนวิจัย
- การพิจารณาทุนมีการเกรงใจกันหรือใช้วิธีการตกลงกันล่วงหน้า (lobby) มาก่อน
3.งบประมาณการวิจัย
- ตั้งงบประมาณสูงเกินจริง และไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนตัดงบประมาณอย่างไร้เหตุผล
- ผู้ให้ทุนสร้างเงื่อนไขให้เบิกยาก เช่น ใช้ระบบราชการเพื่อแลกกับผลประโยชน์บางอย่าง
4.การทำวิจัย
- แอบอ้างชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจเครื่องมือวิจัยโดยส่งเครื่องมือไปให้เป็นพิธี
- ไม่ส่งผลงานวิจัยตามกำหนดเวลาที่ขอทุน
- ไม่ได้เก็บข้อมูลจริงใช้วิธีสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ (ยกเมฆ)
- ยักยอกงบประมาณไปใช้ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานวิจัย
- เร่งรีบทำวิจัยช่วงใกล้ ๆ วันจะส่งผลงานวิจัยทำให้ผลงานวิจัยไม่มีคุณภาพ
- ไม่มีความรู้พอที่จะทำวิจัย
- นำข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างไปเปิดเผย
- ผู้ให้ทุนไม่มีการติดตามผลการดำเนินการวิจัยของนักวิจัย
5.การเขียนรายงานการวิจัย
- จูงใจ เบี่ยงเบนผลการวิจัยโดยหวังผลประโยชน์ส่วนตน
- เขียนรายงานในสิ่งที่ไม่ได้ทำจริง เช่น ไม่ได้หาคุณภาพเครื่องมือวิจัยแต่เขียนว่าหาคุณภาพเครื่องมือวิจัยพร้อมทั้ง รายงานค่าสถิติที่สร้างขึ้นเอง เป็นต้น
- คัดลอกข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่อ้างอิง
- นำผลงานวิจัยผู้อื่นมาเปลี่ยนชื่อเป็นของตน
6.การส่งผลงานวิจัย
- ได้ทุนแล้วเมื่อครบกำหนดเงื่อนไขไม่ยอมส่งผลงานวิจัยให้หน่วยงานที่ให้ทุนตามสัญญา
- ไม่ได้แก้ตามประเด็นที่ตกลงไว้ก่อนรับทุน และผู้ให้ทุนก็ไม่ได้ตรวจ
 
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-15 กล่าวว่า  การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
ก. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้
ข. อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
ค. ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
ง. ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
            8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ
จริยธรรมและจรรยาบรรณในการวิจัย   ในกระบวนการแสวงหาความรู้ความจริงด้วยวิธีการวิจัย นักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์มักมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาทางด้านจริยธรรม (ethical problem) นานัปการ เช่น
1.การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว (privacy) ของบุคคลแต่ละคนหรือกลุ่มชนแต่ละกลุ่ม (ทั้งโดยการเฝ้าสังเกตการณ์และสอบถามเรื่องส่วนตัว)
2.การหลอกลวง (deception) หน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย
3.การบิดเบือนข้อค้นพบของการศึกษาวิจัย รวมทั้งการแอบอ้างผลงานวิจัยของบุคคลอื่นมาเป็นของตนเอง (plagiarism) ปัญหาทางด้านจริยธรรมทางการวิจัยในด้านต่าง ๆ เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยตัวอย่างที่ให้ข้อมูลทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ


สรุป
การวิจัยในมนุษย์ จะต้องชอบด้วยมนุษยธรรม จริยธรรม และไม่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ต้องมีการวิเคราะห์ เปรียบระหว่างประโยชน์ และโทษ ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งหามาตรการ ในการคุ้มครองผู้ถูกทดลอง ค้นหาผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งหาวิธีการ ในการป้องกัน หรือแก้ไข เมื่อมีอันตรายเกิดขึ้น ตลอดจนการหยุดการทดลองทันที เมื่อพบว่าการทดลองนั้น อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้
การประเมินปัญหาจริยธรรม มีแนวคิดบางประการ ที่สมควรนำมาพิจารณาดังนี้
1. งานวิจัยนั้นควรทำหรือไม่ ทั้งหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่จะมาสนับสนุนหรือคัดค้าน คำถามการวิจัย รูปแบบและระเบียบวิธีวิจัย
2. การวิจัยนี้จำเป็นต้องทำในคนหรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องทำ ผู้วิจัยมีหลักฐานการวิจัยในสัตว์ทดลอง หรือการวิจัยอื่น ๆ มายืนยันว่า ประสบผลสำเร็จตามสมควร หรือไม่
3. การวิจัยนั้น คาดว่าจะเกิดผลดีมากกว่าผบเสียต่อตัวอย่างที่นำมาศึกษาหรือไม่
4. ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะทำวิจัยเป็นอย่างดี และสามารถอธิบายถึงผลดีและผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการวิจัยนั้นได้
5. ต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร (informed consent) จากตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี โดยผู้วิจัย ต้องให้ข้อมูลที่ละเอียด และชัดเจนเพียงพอ ก่อนให้ผู้ถูกทดลอง เซ็นใบยินยอม เช่น
ก. อธิบายถึงวัตถุประสงค์ และวิธีการที่จะใช้
ข. อธิบายถึงประโยชน์ที่จะได้รับ และอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมทั้งผลข้างเคียงต่าง ๆ ความไม่สะดวกสบาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ระหว่างการทดลองนั้น
ค. ผู้ถูกทดลอง ต้องได้รับการยืนยันว่า มีสิทธิจะถอนตัวออกจากการศึกษา เมื่อไรก็ได้ โดยการถอนตัวนั้น จะไม่ก่อให้เกิดอคติ ในการได้รับการดูแล รักษาพยาบาลต่อไป
ง. ข้อมูลทั้งหลาย จะถูกเก็บเป็นความลับ
6. ผู้วิจัยต้องรับผิดชอบ ในการดูแล แก้ไข อันตราย หรือผลเสียต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แก่ผู้ทดลองโดยทันที และต้องปฏิบัติอย่างสุดความสามารถ ทั้งนี้ ต้องเตรียมอุปกรณ์จำเป็น และมีประสิทธิภาพ ในการช่วยเหลือให้ครบถ้วน
7. จำนวนตัวอย่าง (simple size) ที่ใช้ ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงระเบียบวิธีวิจัยที่กล่าวมาแล้ว
            8. ในกรณีที่มีการจ่ายค่าตอบแทนให้อาสาสมัคร ต้องระบุด้วยว่า ให้อย่างไร และเป็นจำนวนเท่าไร
โดยทั่วไป การวิจัยในมนุษย์ จำเป็นต้องส่งโครงร่างการวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรม ของแต่ละสถาบัน หรือของกระทรวงฯ พิจารณา เพื่อขอความเห็นก่อนเสมอ


อ้างอิง
องอาจ นัยพัฒน์.(2548).วิธีวิทยาการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ.(2544).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.   
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-15  [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 8/12/12

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น